You're currently viewing an old version of this dataset. To see the current version, click here.

รายงานสรุปโครงการศึกษาและทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 ในห้องปฏิบัติการของเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2556) เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์มีหลากหลายประเภทแตกต่างกันตามปริมาณเอทานอลที่ผสม เช่น แก๊สโซฮอล์ E10, E20 และ E85 แต่เนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อเพลิงเหล่านี้มีองค์ประกอบไม่เหมือนกันดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อทั้งการทำงานของเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่สัมผัสเชื้อเพลิงและการก่อมลพิษที่มีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศแตกต่างกัน เพื่อให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการเกษตรและรถจักรยานยนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนจึงต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของวัสดุและคุณภาพอากาศที่ได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องยนต์ซึ่งมีความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากเครื่องยนต์ในอนาคต

รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ใช้เครื่องต้นกำลังที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินหันมาใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลให้มากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้ตอบสนองนโยบายเป็นอย่างดี และได้ผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาสามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ได้ แต่สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น เครื่องพ่นสารเคมี เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดหญ้า เครื่องหยอดเมล็ดพืช รวมทั้งรถจักรยานยนต์ เพื่อให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการเกษตรและการใช้รถจักรยานยนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงต้องมีการศึกษาการใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ในสัดส่วนต่างๆ ให้ได้ผลอย่างน้อยไปถึงแก๊สโซฮอล์ E85 ในเครื่องยนต์การเกษตรและรถจักรยานยนต์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วก่อให้เกิดปัญหาทางด้านกายภาพของวัสดุและคุณภาพอากาศ จากการใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเอทานอลในสัดส่วนต่างๆจนถึงแก๊สโซฮอล์ E85 อย่างไรบ้าง

ที่ผ่านมาประเทศต้องเสียเงินตราให้กับต่างประเทศถึงกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท หากส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 อย่างแพร่หลายนับว่ามีผลดีทั้งทางตรงคือ ลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงพร้อมทั้งส่งผลถึงมลพิษที่น้อยลง ส่วนทางอ้อมนั้นจะส่งถึงความมีเสถียรภาพของราคาพืชผลทางด้านเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการศึกษาและทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 ในห้องปฏิบัติการ ของเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์

วัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แก๊สโซฮอล์ E10, E20, E50 และ E85 ในเครื่องยนต์การเกษตร 2)เพื่อศึกษาและทดสอบชิ้นส่วนที่สัมผัสเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์การเกษตรและรถจักรยานยนต์ที่อาจได้รับความเสียหายเมื่อใช้แก๊สโซฮอล์ E10 และ E85 3)เพื่อทดสอบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระหว่างเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ E10, E20, E50 และ E85 ในเครื่องยนต์การเกษตร

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสารรายงานสรุปโครงการศึกษาและทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 ในห้องปฏิบัติการของเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* อีเมลสำหรับติดต่อ bioethanol@dede.go.th
* วัตถุประสงค์
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ตามเวลาจริง
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
* แหล่งที่มา รายงานสรุปโครงการศึกษาและทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 ในห้องปฏิบัติการของเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์ (บริษัท ฟรอนเทียร์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ส จำกัด)
* รูปแบบการเก็บข้อมูล PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล Creative Commons Non-Commercial (Any)
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ไม่มี
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ หน่วยงานเอกชน
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่เริ่มต้นสร้าง 7 ตุลาคม 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 7 ตุลาคม 2565
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ไม่ใช่
สร้างโดย Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
สร้างในระบบเมื่อ 7 ตุลาคม 2565
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 21 สิงหาคม 2567