(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2559)ตามที่กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 -2579 กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซล 14.00 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2579 โดยส่งเสริมการใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นปีละ 2.50 แสนไร่ และปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเดิมปีละ 30,000 ไร่ ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 4.50 ล้านไร่ เป็น 7.50 ล้านไร่ ในปี 2569
ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ ที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในสัดส่วนร้อยละ 7 หรือ บี 7 ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งประมาณ 3.13 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งในอนาคตจะมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ตามแผนการส่งเสริมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว และประกอบด้วยในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานผลิต BHD (Bio Hydrogenated Diesel) ที่จะช่วยดูดซับปริมาณน้ำมันปาล์มส่วนเกินได้มากขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่จะรองรับปริมาณปาล์มน้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตที่
เหลือจากการบริโภคเพื่อผลิตไบโอดีเซล จึงมีความจะเป็นต้องศึกษาแนวทางการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 100
เชิงพาณิชย์ในเครื่องยนต์การเกษตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลให้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้างที่ปรึกษา (TOR) ในการศึกษาแนวทางการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 100 เชิงพาณิชย์ในเครื่องยนต์การเกษตร ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบดำเนินการ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและแนวทางการใช้น้ำ มันไบโอดีเซล บี 100 เชิงพาณิชย์ในเครื่องยนต์การเกษตร
2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรหรือหน่วยงาน ที่มีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซล บี 100 ชุมชน จากน้ำมันปาล์มเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์การเกษตร