รายงานสรุปโครงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2551) สืบเนื่องจากวิกฤตราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระ ทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2548ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์เฉลี่ย 49.55 และ 54.85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 15.86 และ 16.63เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ จากปี พ.ศ. 2547 สำหรับราดาน้ำมันสำเร็จรูปในปี พ.ศ. 2548 พบว่าราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ย 62.38 และ 64.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 เท่ากับ 15.15 และ 18.66 เหรียญหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปสูงถึง 029,155 ล้านบาท และ 29,490 ล้านบาท ตามลำดับเพิ่มสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ถึง 142,528 และ 13,721 ล้านบาท แม้ว่าปริมาณการนำเข้าจะลดลงตามความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงแล้วก็ตาม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานชีวมวลที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยกระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการแข่งข้นของประเทศ และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในยุทธศาสตร์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2546ซึ่งมียุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ได้กำหนดเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในเชิงพาณิชย์ หรือการใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า/อุตสาหกรรมจากร้อยละ 0.5 ในปี พ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 8 ของการใช้พลังงานรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2554

จากยุทธศาสตร์ที่กระทรวงพลังงานกำหนดนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เอทานอลเพื่อทดแทนสาร Methy Tertiary Buty! Ether (MTBE) ในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 วันละ 1 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2549 และให้มีการใช้เอทานอลวันละ 3 ลัานลิตร เพื่อทดแทนสารMTBE ในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และทดแทนเนื้อน้ำมันในน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ภายในปี พ.ศ.2554 โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ใช้เอทานอลเป็นสารเติมแต่งในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 แทนสาร MTBEในปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตร (น้ำมันแก๊สซฮอล์ออกเทน 95) และเติมในน้ำมันเบนซินออกเทน 87ในปริมาณร้อยละ 10 (น้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 91) และกำหนดให้ยกเลิกการใช้สาร MTBE น้ำมันเบนซินออกเทน 95 โดยให้ใช้เอทานอลทดแทนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป จากการที่จริงจังของภาครัฐส่ผห้ปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2547ถึง 584 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 จำนวน 524 ล้านลิตร การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ในรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะลดปริมาณการระบายก๊ซดาร์บอนมอนอกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้ในระดับหนึ่งแต่จะก่อให้เกิดสารมลพิษประเภทอื่นเพิ่มขึ้นแทน โดยเฉพาะสารมลพิษ Air Toxics กลุ่ม CarbonylCompounds ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เอทานอล นอกจากนี้องค์ประกอบของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากน้ำมันเบนซินปกติอาจมีผลต่อประเภทและปริมาณของสารมลพิษที่เกิดขึ้นและระบายออกสู่บรรยากาศ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐเป็นไปอย่างยั่งยืนและเหมาะสมในทุก ๆ ด้าน จึงต้องดำเนินโดรงการตรวจวัดมลพิษจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 และ 91 ต่อคุณภาพอากาศ

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสารรายงานสรุปโครงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* อีเมลสำหรับติดต่อ bioethanol@dede.go.th
* วัตถุประสงค์
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ไม่มี
* แหล่งที่มา รายงานสรุปโครงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ (กรมควบคุมมลพิษ)
* รูปแบบการเก็บข้อมูล PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล Creative Commons Non-Commercial (Any)
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ไม่มี
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ หน่วยงานของรัฐ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่เริ่มต้นสร้าง 28 กันยายน 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 28 กันยายน 2565
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ไม่ใช่
สร้างโดย Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
สร้างในระบบเมื่อ 28 กันยายน 2565
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 21 สิงหาคม 2567