You're currently viewing an old version of this dataset. To see the current version, click here.

การนำของเสียจากการผลิตเอทานอลมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2549) การดำเนินนโยบายของรัฐบาล ณ สภาวะปัจจุบันได้ให้ความสนใจในการพัฒนาแหล่งพลังงานของประเทศมากขึ้นซึ่งเป็นไปตามสภาพการณ์ของพลังงานในโลก โดยเฉพาะประเทศไทยมีแหล่งพลังงานจากชีวมวลที่หลากหลายจำนวนมาก การดำเนินงานด้านการพัฒนาแหล่งพลังงานมีการผลักดันนโยบายด้านส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างแก๊สโซฮอล์ หรือไบโอดีเซล การดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ขึ้น คือ อุตสาหกรรมเอทานอลเชื้อเพลิง เป็นที่ทราบกันดีว่ามีโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศมานานแล้ว แต่เป็นเอทานอลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่ม หรือยา หรือเพื่อการส่งออก ซึ่งจำกัดจำนวนผลิตและความบริสุทธิ์ของเอทานอลสูงสุดที่ร้อยละ 95 (มีน้ำอยู่อีกร้อยละ 5) และควบคุมโดยกรมสรรพสามิตเท่านั้น แต่อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไป เนื่องจากเป็อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นตามนโยบายและผลิตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น

อุตสาหกรรมเอทานอลในประเทศไทยใช้วัตถุดิบการเกษตรจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังเป็นหลัก จากการประเมินปริมาณของวัตถุดิบอย่างคร่าวๆ ตามจำนวนโรงงานเอทานอลที่มีการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานเอทานอลเชื้อเพลิง พบว่าจะเกิดของเสีย (Waste) และผลพลอย(By-product) ได้มากมาย เช่น โรงงานเอทานอลเชื้อเพลิงขนาดกำลังการผลิตประมาณ 150,000ลิตร/วัน จะมีปริมาณน้ำจากหอกลั่นมากถึงวันละประมาณ 1,500,000 ลิตร/วัน หากโรงงานไม่มีขั้นตอนการนำน้ำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต น้ำจากหอกลั่นทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งการจัดการกับน้ำเสียวันละ 1.5 ล้านลิตร/วัน ต้องใช้พื้นที่มากหรือต้องมีการลงทุนระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูงเนื่องจากปริมาณของน้ำเสียมาก โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบจะต้องบำบัดสีของน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

ของเสียและผลพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตอย่างน้ำเสีย หรือกากมันสำปะหลังมีศักยภาพสูงสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างแก๊สชีวภาพ หรืออาหารสัตว์ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมเอทานอล หรือผู้สนใจที่จะนำของเสียและผลพลอยได้จากโรงงานเอทานอลมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ ดังเช่นอุตสาหกรรมเอทานอลของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตก่อนที่จะมีการนำข้าวโพดเข้าสู่ขั้นตอนการย่อยจะมีการแยกส่วนของน้ำมันข้าวโพด และกลูเตนซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่มีมูลค่าสูงออกมาก่อน และของเสียจากกระบวนการกลั่นอย่างกากของเมล็ดข้าวโพดสามารถผลิตเป็นDDGS (Dried Distilleries Grain with Soluble) เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการจึงใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ได้สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของโรงงานเอทานอลได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมเอทานอลในประเทศสามารถแข่งขันทางการตลาดได้จึงต้องพัฒนากระบวนการผลิตการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้และของเสียที่เกิดจากกระบวนการหมัก และการกลั่นเอทานอลให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสามารถจำหน่ายสร้างรายได้แก่โรงงานผลิตเอทานอล

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* อีเมลสำหรับติดต่อ bioethanol@dede.go.th
* วัตถุประสงค์
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ตามเวลาจริง
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
* แหล่งที่มา สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* รูปแบบการเก็บข้อมูล PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล Creative Commons Non-Commercial (Any)
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ สถาบันการศึกษา
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่เริ่มต้นสร้าง 28 กันยายน 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 28 กันยายน 2565
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ไม่ใช่
สร้างโดย Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
สร้างในระบบเมื่อ 28 กันยายน 2565
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567