รายงานสรุปโครงการวิจัยและทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมง

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2550) ถึงแม้ว่าโลกกำลังใช้น้ำมันจนใกล้หมดแล้ว แต่ยังคงมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 1 – 2 % ในทุกปี และการนำน้ำมันขึ้นมาจากใต้พื้นโลก 1,000 บาร์เรล ทุกๆ วินาที นักธรณีวิทยาที่ก่อตั้งบริษัทผลิตน้ำมันนั้น ทุกบริษัทคาดหวังจะผลิตน้ำมันให้ถึงจุดสูงสุดของการผลิตให้เร็วที่สุด บุคคลเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการทำนายของนักธรณีวิทยาที่ชื่อ เอ็ม คิง ฮับเบิร์ท เจ้าของทฤษฎี “ ฮับเบิร์ทส พีค ” หัวใจสำคัญของทฤษฎีนี้คือการระบุว่า ปริมาณน้ำมันของโลกจะถึงจุดสูงสุดของการผลิตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จากนั้นกราฟปริมาณน้ำมันโลกจะลดลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงจุดต่ำสุด ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ทำนายได้อย่างถูกต้องเมื่อปี ค.ศ. 1956 ว่า การผลิตน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกา จะถึงจุดสูงสุดของการผลิตในปี ค.ศ. 1970 ประเทศสหรัฐเริ่มทดแทนการใช้น้ำมันด้วยพลังงานชนิดอื่นร้อยละ 40 ของพลังงานที่ได้จากน้ำมัน และเมื่อมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของสภาพอากาศ การใช้พลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่พลังงานจากฟอสซิลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรีบกระทำมากขึ้น ถ้าการผลิตน้ำมันขึ้นถึงจุดสูงสุดหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกอย่างเฉียบพลันขึ้น การเปลี่ยนพลังงานหลักจากการใช้น้ำมันไปเป็นพลังงานทดแทน ควรเตรียมพร้อมนำมาใช้ได้ในทันที (กรกิจ ดิษฐาน. 2548)

นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากที่ราคาน้ำมันดีเซลปกติ อยู่ที่ประมาณลิตรละ7-8 บาท ได้เพิ่มค่าขึ้น ตามปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น และการจำกัดการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปค ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก

ในปี พ.ศ. 2544 จึงถือว่าเป็นวาระอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของพลังงาน มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันกันอย่างมากมาย อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล (Biomass) ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นต้น แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ “ไบโอดีเซล” (Bio-diesel) เมื่อมีการเปิดสถานีจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วยังทำให้เกิดความสนใจในการใช้ไบโอดีเซลได้อีก

ชัชรี ไทยสุชาติ (2547) อธิบายความหมายของไบโอดีเซลว่าหมายถึง เมทิลเอสเทอร์ หรือเอทิลเอสเทอร์ของน้ำมันหรือไขมันของพืชหรือสัตว์ (ไตรกลีเซอไรด์) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นของไตรกลีเซอไรด์กับเมทานอลหรือเอทานอล โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นด่าง กรด หรือเอนไซม์ ไบโอดีเซลที่ได้จากการทำปฏิกิริยาจะมีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ดีตามธรรมชาติ ไม่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ ลดปริมาณเขม่าและควันดำได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

จากขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล ผลิตภัณฑ์ที่ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญคือ ส่วนของไบโอดีเซล และส่วนของกลีเซอรีนหรือกลีเซอรอล ซึ่งกลีเซอรีนนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง หรือทำสบู่ เป็นต้น แต่จะต้องมีกระบวนการทำให้กลีเซอรีนมีความบริสุทธิ์ถึงขั้นคุณภาพยา ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีราคาที่สูง ดังนั้นผู้ผลิตไบโอดีเซลรายย่อยจึงถือว่ากลีเซอรีนเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสารรายงานสรุปโครงการวิจัยและทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมง
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* Contact Email bioethanol@dede.go.th
* Objective
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Update Frequency Interval
* Geo Coverage ประเทศ
* Data Source รายงานสรุปโครงการวิจัยและทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมง (กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ)
* Data Format PDF
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
* License Creative Commons Non-Commercial (Any)
Accessible Condition ไม่มี
Data Support หน่วยงานของรัฐ
Data Collect ไม่มี
URL
Data Language
  • ไทย
  • อังกฤษ
Created date October 7, 2022
Last updated date October 7, 2022
High Value Dataset No
Reference Data No
Create by Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
Created October 7, 2022
Last Updated August 21, 2024