You're currently viewing an old version of this dataset. To see the current version, click here.

โครงการวิจัยและทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมง

(ปีงบประมาณ 2550) ถึงแม้ว่าโลกกำลังใช้น้ำมันจนใกล้หมดแล้ว แต่ยังคงมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 1 – 2 % ในทุกปี และการนำน้ำมันขึ้นมาจากใต้พื้นโลก 1,000 บาร์เรล ทุกๆ วินาที นักธรณีวิทยาที่ก่อตั้งบริษัทผลิตน้ำมันนั้น ทุกบริษัทคาดหวังจะผลิตน้ำมันให้ถึงจุดสูงสุดของการผลิตให้เร็วที่สุด บุคคลเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการทำนายของนักธรณีวิทยาที่ชื่อ เอ็ม คิง ฮับเบิร์ท เจ้าของทฤษฎี “ ฮับเบิร์ทส พีค ” หัวใจสำคัญของทฤษฎีนี้คือการระบุว่า ปริมาณน้ำมันของโลกจะถึงจุดสูงสุดของการผลิตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จากนั้นกราฟปริมาณน้ำมันโลกจะลดลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงจุดต่ำสุด ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ทำนายได้อย่างถูกต้องเมื่อปี ค.ศ. 1956 ว่า การผลิตน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกา จะถึงจุดสูงสุดของการผลิตในปี ค.ศ. 1970 ประเทศสหรัฐเริ่มทดแทนการใช้น้ำมันด้วยพลังงานชนิดอื่นร้อยละ 40 ของพลังงานที่ได้จากน้ำมัน และเมื่อมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของสภาพอากาศ การใช้พลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่พลังงานจากฟอสซิลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรีบกระทำมากขึ้น ถ้าการผลิตน้ำมันขึ้นถึงจุดสูงสุดหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกอย่างเฉียบพลันขึ้น การเปลี่ยนพลังงานหลักจากการใช้น้ำมันไปเป็นพลังงานทดแทน ควรเตรียมพร้อมนำมาใช้ได้ในทันที (กรกิจ ดิษฐาน. 2548)

นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากที่ราคาน้ำมันดีเซลปกติ อยู่ที่ประมาณลิตรละ7-8 บาท ได้เพิ่มค่าขึ้น ตามปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น และการจำกัดการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปค ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก

ในปี พ.ศ. 2544 จึงถือว่าเป็นวาระอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของพลังงาน มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันกันอย่างมากมาย อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล (Biomass) ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นต้น แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ “ไบโอดีเซล” (Bio-diesel) เมื่อมีการเปิดสถานีจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วยังทำให้เกิดความสนใจในการใช้ไบโอดีเซลได้อีก

ชัชรี ไทยสุชาติ (2547) อธิบายความหมายของไบโอดีเซลว่าหมายถึง เมทิลเอสเทอร์ หรือเอทิลเอสเทอร์ของน้ำมันหรือไขมันของพืชหรือสัตว์ (ไตรกลีเซอไรด์) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นของไตรกลีเซอไรด์กับเมทานอลหรือเอทานอล โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นด่าง กรด หรือเอนไซม์ ไบโอดีเซลที่ได้จากการทำปฏิกิริยาจะมีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ดีตามธรรมชาติ ไม่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ ลดปริมาณเขม่าและควันดำได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

จากขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล ผลิตภัณฑ์ที่ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญคือ ส่วนของไบโอดีเซล และส่วนของกลีเซอรีนหรือกลีเซอรอล ซึ่งกลีเซอรีนนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง หรือทำสบู่ เป็นต้น แต่จะต้องมีกระบวนการทำให้กลีเซอรีนมีความบริสุทธิ์ถึงขั้นคุณภาพยา ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีราคาที่สูง ดังนั้นผู้ผลิตไบโอดีเซลรายย่อยจึงถือว่ากลีเซอรีนเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* อีเมลสำหรับติดต่อ bioethanol@dede.go.th
* วัตถุประสงค์
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ตามเวลาจริง
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
* แหล่งที่มา กพช.
* รูปแบบการเก็บข้อมูล PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล Creative Commons Non-Commercial (Any)
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ หน่วยงานของรัฐ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่เริ่มต้นสร้าง 7 ตุลาคม 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 7 ตุลาคม 2565
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ไม่ใช่
สร้างโดย Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
สร้างในระบบเมื่อ 7 ตุลาคม 2565
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 10 ตุลาคม 2565