รายงานสรุปโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืน

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2562) การพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเติบโตของจานวนประชากรโลก ทาให้ความต้องการใช้พลังงานอยู่ในระดับสูง ในขณะที่แหล่งพลังงานหลักของโลกมีปริมาณจากัดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกาลังให้ความสนใจและเร่งหามาตรการเพื่อควบคุม ในส่วนของประเทศไทย ถึงแม้จะมีแหล่งพลังงานเชิงพาณิชย์ภายในประเทศของตนเอง แต่ยังคงไม่เพียงพอกับความต้องการ ทาให้ต้องพึ่งพาพลังงานนาเข้าจากต่างประเทศมาโดยตลอด อีกทั้งต้องเผชิญและปรับตัวอย่างต่อเนื่องกับภาวะผันผวนของราคาน้ามันซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนโดยรวม ทาให้ต้องหันมาหาแหล่งพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในอนาคต โดยมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือก ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปให้ความสนใจและหันมาพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อลดการพึ่งพาน้ามันดิบ และบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในปี ค.ศ. 2009 สหภาพยุโรปมีมติให้มีการกาหนดปริมาณการปลดปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการบินของสายการบินพาณิชย์ตาม EU Emission Trading System ทั้งนี้ ตามข้อตกลงของธุรกิจการบินทั้งหมด ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยสายการบินพาณิชย์ที่บินผ่านน่านฟ้าของประเทศในกลุ่ม EU ที่ใช้น้ามันเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานในปริมาณร้อยละ 10 ขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) แต่ปัจจุบันเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานยังมีปริมาณการผลิตน้อย และราคาแพง การผลักดันให้เกิดการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน ต้องมียุทธศาสตร์ และการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยใช้กิจกรรมต่างๆสนับสนุนเพื่อสร้างความตื่นตัวในสังคม ตลอดจน ส่งเสริมการวิจัยและเทคโนโลยีการผลิต

เนื่องจากการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน มีความเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน อันได้แก่ ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิตน้ามัน อุตสาหกรรมการบิน รวมถึงผู้บริโภค ดังนั้นการกาหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนต่างๆ จาเป็นที่จะต้องคานึงถึงผลกระทบและข้อจากัดของทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงเพื่อให้ได้นโยบาย มาตรการ รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการของภาคส่วนต่างๆ อย่างเหมาะสม อันจะทาให้การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานประสบความสาเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดทาโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืน จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันแผนการผลิตและแผนปฏิบัติการการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในระดับธุรกิจการบิน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกต่อไป

วัตถุประสงค์ -ศึกษาแนวทางและแผนปฏิบัติการ การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืนของประเทศ -ศึกษาแผนการลงทุนเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ และการนาไปใช้งานจริงเพื่อนาเสนอต่อภาครัฐในการกาหนดนโยบายของประเทศต่อไป

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสารรายงานสรุปโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืน
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* Contact Email bioethanol@dede.go.th
* Objective
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Update Frequency Interval
* Geo Coverage ประเทศ
* Data Source รายงานสรุปโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
* Data Format PDF
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
* License Creative Commons Non-Commercial (Any)
Accessible Condition ไม่มี
Data Support สถาบันการศึกษา
Data Collect ไม่มี
URL
Data Language
  • ไทย
  • อังกฤษ
Created date October 3, 2022
Last updated date October 3, 2022
High Value Dataset No
Reference Data No
Create by Gravatar พอพันธ์ สร้อยน้อย
Created October 3, 2022
Last Updated August 21, 2024